หมอแล็บแพนด้า ได้ทำการชี้แจงถึงสาเหตุว่าทำไม คนป่วย จากเชื้อไวรัส โควิด -19 นั้นถึงไม่สามารถได้รับ กลิ่น ได้ ผ่านช่องทางเฟสบุ๊กเพจของตนเอง เนื่องด้วยการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด -19 ในปัจจุบัน ทำให้ผู้คนต้องทำการเฝ้าดูอาการทั้งของตนเอง และคนรอบข้างว่ามีผู้ใดที่ตกเป็น คนป่วย แล้วหรือไม่ โดยหนึ่งอาการบ่งบอกก็คือ การไม่ได้รับ กลิ่น หรือการเสียการรับรู้ทางจมูกไป ซึ่งทาง หมอแล็บแพนด้า นักเทคนิคการแพทย์ ผู้ืั้เป็นเจ้าของเพจที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจะมาให้คำตอบในประเด็นดังกล่าวนี้
โดยทาง หมอแล็บแพนด้า ได้ให้รายละเอียดว่า
การได้กลิ่นนั้น เกิดจากการที่เราได้สูดลมหายใจเข้าไป ซึ่งกลิ่นจะผ่านเข้าทางเซลล์รับความรู้สึก และมันสามารถจะรับรู้ได้ผ่าน 2 ช่อง คือ ผ่านทางรูจมูก และผ่านทางคอหอยที่จะได้รับจากการระเหยของกลิ่นมา
ในช่องทางโผล่จมูกนั้น เซลล์การรับรู้จะอยู่ทางด้านบน เมื่อกลิ่นผ่านเข้าไปแล้ว มันจะทำการกระทบกับตัวเซลล์และปลายประสาทรับกลิ่น จาก จากนั้นระบบประสาทจะส่งต่อไปบอกเซล์สมองส่วนหน้าบริเวณที่เรียกว่า ออลแฟกทอรี่บัลบ์ (Olfactory bulb) ให้ส่งต่อสัญญาณไปยังสมองส่วนซีรีบรัม เพื่อที่สมองจะสามารถจำแนกได้ว่ากลิ่นที่ได้รับมานี้คือกลิ่นอะไร
ซึ่งก็ได้มีการทดลองในตัวหนูที่ได้รับเชื้อโควิด-19 เข้าไป แล้วก็ได้พบว่า เชื้อนั้นจะมีการแพร่กระจายเข้าไปยังเซลล์ประสาทในการรับกลิ่นภายในโพรงจมูก โดยตัวไวรัสได้ไปทำการเปลี่ยนแปลงการทำงานของเซลล์เหล่านี้ให้ผิดปกติ ทำให้ผู้ที่ติดเชื้อประมาณ 1/3 นั้นไม่สามารถได้รับกลิ่น
ส่งผลให้มีการนำมาใช้งานเป็นเกณฑ์อาการที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อโควิด-19
อ.เจษฎ์ ตอบ เคยติดโควิดแล้วต้องฉีดวัคซีนไหม?
อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความลงในเพจเฟซบุ๊ก ตอบคำถามว่า ผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคโควิดต้องฉีดวัคซีนป้องกันโควิดซ้ำหรือไม่
โดยในเพจระบุว่า “เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ “วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19”
ในภาวะที่เราเริ่มมีความหวังมากขึ้นในการต่อสู้รับมือกับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งก่อให้เกิดโรค COVID-19 จากที่เริ่มมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคในหลายประเทศ (และประเทศไทยก็จะเริ่มฉีดในอีกไม่นาน) คำถามหลายๆ อย่างก็เริ่มมีขึ้นเกี่ยวกับวัคซีนและภูมิคุ้มกันของร่างกาย ว่าถ้าเคยติดโรคเชื้อแล้ว มันยังจำเป็นจะต้องฉีดวัคซีนหรือเปล่า และถ้ามีวัคซีนหลายยี่ห้อ เราสามารถนำมาฉีดข้ามกันได้หรือเปล่า
1. ถ้าเคยเป็นโรคโควิด-19 แล้ว ยังจำเป็นต้องฉีดวัคซีนหรือไม่ ?
– ดังนั้น ถึงแม้คุณจะเคยเป็นโรคโควิด-19 จนหายดีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแบบมีอาการน้อยๆ หรือเป็นแบบรุนแรง คุณก็ยังได้ประโยชน์จากการฉีดวัคซีนเพื่อเสริมให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันโรคขึ้น
– มีรายงาน (https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32425950/) จากผู้ป่วยโรคโควิด-19 ระดับที่ต้องเข้าโรงพยาบาลว่าติดเชื้อค่อนข้างหนักมาก จนการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันนั้นทำงานไม่ไหว และทำให้สร้างเมโมรี่เซลล์ภูมิคุ้มกันที่มีต่อไวรัสได้ไม่มากพอ … และถึงคุณจะมีอาการป่วยแบบน้อยๆ ระบบภูมิคุ้มกันของคุณก็อาจจะไม่ได้ทำงานเพียงพอถึงจุดที่จะสร้างเมมโมรีเซลล์ภูมิคุ้มกันได้
2. ถ้าฉีดวัคซีนไปแล้ว จะยังแพร่เชื้อโรคได้อยู่หรือเปล่า ?
– ถึงแม้ว่าวัคซีนที่เริ่มมีการฉีดกันทั่วโลกนั้น จะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ที่ถูกฉีดมีอาการป่วยจากโรคโควิด-19 โดยวัคซีนที่ได้รับอนุญาตแล้วนั้นจะต้องป้องกันได้มากกว่า 50% (ซึ่งกรณีของวัคซีนที่ฉีดในประเทศอเมริกาแล้ว อย่างของ Pfizer-BioNTech และ Moderna นั้นป้องกันได้ 90%) แต่เรายังไม่สามารถบอกได้ว่ามันจะสามารถป้องกันไม่ได้เกิดการแพร่เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ได้จริงหรือไม่- เหตุผลหนึ่งที่เราไม่อาจตอบคำถามนั้นได้ คือ วัคซีนและการทดสอบประสิทธิภาพของมันนั้น ถูกออกแบบมาสำหรับศึกษาถึงอัตราการป้องกันไม่ให้คนที่ถูกฉีดเกิดอาการป่วย ไม่ใช่เพื่อดูเรื่องการแพร่ระบาดของโรค
– อีกเหตุผลหนึ่ง คือ มันเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากเกี่ยวกับกระบวนการที่วัคซีนทำให้เกิดสารแอนตี้บอดี้ภูมิคุ้มกันขึ้นในร่างกาย ซึ่งจำเป็นจะต้องทำการศึกษาอีกเยอะ … โดยทั่วไปแล้ว วัคซีนจะไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนตี้บอดีชนิดที่เรียกว่า อิมมูโนกลอบูลิน จี (immunoglobulin G) หรือ ไอจีจี (IgG) ไปจัดการกับเชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกาย แต่ถ้าเราจะคิดถึงการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยแล้วล่ะก็ เราต้องไปวิเคราะห์หาอิมมูโนกลอบูลิน เอ (immunoglobulin A) หรือ ไอจีเอ (IgA) ด้วย ซึ่งมันจะไปทำงานแบบตรวจการอยู่ที่บริเวณเซลล์พื้นผิวของร่างกายที่มีเมือก เช่น ในโพรงจมูก หลอดลม ปอด และช่องทางเดินอาหาร .. และก็ยังไม่ค่อยมีการศึกษาในประเด็นนี้
3. ถ้าเกิดได้ฉีดวัคซีน 2 โดส โดยที่โดสแรกของเป็นของบริษัทหนึ่ง จะเปลี่ยนไปฉีดโดสที่ 2 ของอีกบริษัทได้หรือไม่ ?
– ปรกติแล้ว การฉีดวัคซีนในรอบแรกนั้น มีความสำคัญที่สุดที่จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนของไวรัสขึ้นมา ส่วนการฉีดโดสที่สอง หรือที่มักจะเรียกกันว่า บูสเตอร์ (booster) นั้น จะช่วยเสริมระดับการตอบสนองของภูมิคุ้มกันให้มากขึ้น โดยเหมือนกับการย้ำเตือนให้ร่างกายรู้จักกับไวรัสนั้น
– ด้วยเหตุนี้ จึงไม่จำเป็นที่วัคซีนซึ่งจะใช้ฉีดครั้งที่สองเพื่อเป็นบูสเตอร์ จะต้องเป็นวัคซีนตัวเดียวกันกับที่ฉีดในครั้งแรก ถ้าวัคซีนทั้งสองตัวนั้นสามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนของไวรัสได้เหมือนกัน
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป