กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมมือกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการพัฒนา เครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนอัตโนมัติ แม่นยำสูง ในวันนี้ (4 ส.ค.) – นาย อนุทิน ชาญวีรกูล รมว. กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศถึงความร่วมมือระหว่างกระทรวงกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการพัฒนา เครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนอัตโนมัติ แม่นยำสูง
โดยประกาศดังกล่าวที่เผยแพร่บนช่องทางเพจเฟซบุ๊คส่วนตัวนั้น มีเนื้อความว่า
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ชมการสาธิตเครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนอัตโนมัติ พัฒนาโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และภาคเอกชน ช่วยดูดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า แบ่งบรรจุลงเข็มฉีดยาได้แม่นยำ รวดเร็ว 4 นาทีทำได้ 12 เข็ม ทำให้มีวัคซีนเพิ่มขึ้น 20 % ลดภาระงาน เตรียมหารือนำมาใช้งานจริง
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และนายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค
ร่วมรับชมการสาธิตต้นแบบเครื่องแบ่งและบรรจุวัคซีนด้วยระบบอัตโนมัติ (Automate Vaccine) ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่พัฒนาร่วมกันโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และภาคเอกชน
นายอนุทินให้สัมภาษณ์ว่า วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนชนิดบรรจุหลายโดส (Multiple Dose Vial) โดย 1 ขวดใช้สำหรับฉีด 10 โดส โดสละ 0.5 มิลลิลิตร แต่ผู้ผลิตบรรจุวัคซีนมาให้เกิน คือ บรรจุมา 6.5 มิลลิลิตร ที่ผ่านมาบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกฝน มีทักษะสามารถดูดวัคซีนได้มากถึง 11-12 โดสต่อขวด โดยต้องใช้เข็มฉีดยาชนิดที่ลดปริมาณยาคงค้างในกระบอกฉีดยา (Low Dead Space Syringe)
ซึ่งทั่วโลกมีความต้องการใช้จำนวนมากทำให้เกิดความขาดแคลน ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จึงร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และภาคเอกชน พัฒนานวัตกรรมเครื่องแบ่งและบรรจุวัคซีนด้วยระบบอัตโนมัติ ทำให้การดูดวัคซีนและแบ่งบรรจุวัคซีนแต่ละโดสมีความแม่นยำตามที่กำหนด
นายอนุทินกล่าวต่อว่า การแบ่งบรรจุวัคซีนนั้น เจ้าหน้าที่จะเตรียมเข็มฉีดยาวางไว้บนแท่นจำนวน 12 หลอด จากนั้นนำขวดวัคซีนวางไว้ในจุดที่กำหนด เครื่องจะดูดวัคซีนออกมาจนหมดขวดโดยใช้หัวดูดสุญญากาศใช้หลักการดูดของเหลวโดยมี Air Cushion ทำให้วัคซีนไม่สัมผัสกับหัวดูดโดยตรงแล้วจะเคลื่อนไปแบ่งบรรจุลงเข็มฉีดยาตามจำนวนที่กำหนด คือ 0.5 มิลลิลิตรเท่ากันทั้ง 12 หลอด
โดยเครื่องทำงานแบบสายพาน ทำให้แบ่งบรรจุวัคซีนลงหลอดฉีดยาอย่างต่อเนื่อง แม่นยำ และรวดเร็ว โดยใช้เวลาประมาณ 4 นาที จากนั้นปิดหลอดด้วยเข็มฉีดยา และนำมาเก็บใส่ถาดบรรจุวัคซีนเพื่อนำไปใช้ฉีดต่อไป
นายอนุทิน กล่าวว่า “เครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนช่วยแบ่งเบาบุคลากรทางการแพทย์ในการดูดวัคซีนออกจากขวดได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว ทำให้มีวัคซีนในการฉีดเพิ่มขึ้น 20% ช่วยให้จุดฉีดการฉีดวัคซีนในจุดขนาดใหญ่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยลดการใช้ Low Dead Space Syringe นอกจากนี้ ยังมีความปลอดภัยเพราะกระบวนการไม่ทำให้เกิดการปนเปื้อน เข็มและหลอดฉีดยาที่แบ่งบรรจุจะถูกเปลี่ยนใหม่ทุกครั้ง จึงไม่มีโอกาสเจือปนกันของวัคซีนแต่ละขวด ส่วนการนำมาใช้งานจริงจะมีการหารือกันต่อไป”
ผวาทั้งเมืองเลย เสียงปริศนาดังสนั่นท้องฟ้า สงสัย ดาวตก หรือ แผ่นดินไหว
รอผู้เชี่ยวชาญมาตอบ พบเสียงปริศนาบึมสนั่น จังหวัดเลย แรงสั่นสะเทือนหลายหลังคาเรือน ชาวบ้านเห็นแสงสีเขียง สีฟ้า คาดเป็น ดาวตก ไม่ก็ แผ่นดินไหว เมื่อเวลา 23.00 น. ของวันที่ 7 ก.ค. 64 ที่ผ่านมา ชาวบ้านในหลายพื้นของจังหวัดเลย ต้องแตกตื่น เมื่อได้ยินเสียงปริศนา คล้ายกับเป็นเสียงระเบิดดังสนั่น อีกทั้งยังพบแรงสั่นสะเทือนในเกือบทุกอำเภอของ จ.เลย
โดยเฉพาะที่ อ.วังสะพุง อ.ภูเรือ และ อ.ด่านซ้าย ซึ่งได้ยินเสียงและแรงสั่นสะเทือนจนอาคารบ้านเรือนสั่น
เหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้หลายคนสงสัยและได้สอบถามผ่านโลกออนไลน์กันมากมายว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น
บางคนบอกว่า เห็นคล้ายดาวตกสีเขียวพุ่งไปทางทิศเหนือของ สปป.ลาว บางคนบอกว่าเห็นเป็นดาวหาง แต่ก็ยังไม่สามารถหาสาเหตุได้ในขณะนี้
มีการคาดเดาว่าอาจเชื่อมโยงกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ สปป. ลาว เมื่อเวลา 13.43 น. หรือเหตุแผ่นดินไหวที่เมียนมา เมื่อเวลา 22.39 น. ซึ่งเป็นเวลาใกล้เคียงกับเสียงดังสนั่นหวั่นไหว ที่ จ.เลย
ขณะที่อีกข้อสันิษฐาน เชื่อว่าอาจเกิดจากดาวตกเหมือนที่เกิดขึ้นในภาคเหนือเมื่อวันที่ 22 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งถึงเวลานี้ยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญออกมาสรุปข้อเท็จจริงใดๆ
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป